โดย : บริษัท ฮั่วเซ่งเฮง โกลด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด(HGF)
กังวลเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย กดดันทองปรับลดลงต่ำสุดรอบ 1 เดือน
ช่วงเวลาตี 1 ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC)
แนวโน้มราคาทองคำคาดเคลื่อนไหว Sideways down
- ราคาทอง Spot เมื่อคืนที่ผ่านมาปรับตัวลดลงต่ำสุดที่ 1,804 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน โดยการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกดดันราคาทองคำ จากความกังวลว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้โกลด์แมน แซคส์ และเจพีมอร์แกนต่างคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมรอบนี้ และจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมเดือนก.ค. แม้ว่าก่อนหน้านี้เฟดจะส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนนี้ก็ตาม ทางด้านกองทุน SPDR Gold Trust ขายทองคำสุทธิ 4.93 ตันจากเมื่อวาน
- คืนนี้สหรัฐจะเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนพ.ค. ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.9% ในเดือนเม.ย. ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์กเดือนมิ.ย. ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.4 จากที่ลดลง 11.6 ในเดือนพ.ค. นอกจากนี้ช่วงเวลาตี 1 ติดตามผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ตลาดคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.50% มาสู่ระดับ 1.25%-1.50% ทั้งนี้หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์จะยิ่งเป็นแรงกดดันราคาทองคำให้ปรับตัวลงได้ต่อ
- แนวโน้มราคาทองคำคาดเคลื่อนไหว Sideways down โดยราคาทองคำมีแนวรับ 1,800 ดอลลาร์ และแนวรับถัดไป 1,790 ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้าน 1,830 ดอลลาร์ และ 1,840 ดอลลาร์
ราคาทองตลาดโลก
Close | chg. | Support | Resistance |
1,808.0 | -10.8 | 1,800/1,790 | 1,830/1,840 |
ราคาทองแท่ง 96.5%
Close | chg. | Support | Resistance |
30,250 | -350 | 29,900/29,800 | 30,200/30,450 |
โกลด์ฟิวเจอร์ส
Close | chg | Support | Resistance |
30,140 | -210 | 29,950/29,870 | 30,280/30,390 |
สามารถเข้าซื้อบริเวณ 1,800 ดอลลาร์ (GF 29,950 บาท) โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,790 ดอลลาร์ (GF 29,870 บาท)
โกลด์ออนไลน์ฟิวเจอร์
Close | chg | Support | Resistance |
1,811.70 | -14.60 | 1,802/1,792 | 1,832/1,842 |
สามารถเข้าซื้อราคา GOM22 ที่ 1,802 ดอลลาร์ โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1,792 ดอลลาร์
ค่าเงิน
ทิศทางค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดจับตาผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในคืนนี้ ซึ่งหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดการณ์ จะยิ่งส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่า และค่าเงินบาทจะอ่อนค่าต่อเนื่อง ทั้งนี้แนวโน้มค่าเงินบาทคาดว่ายังมีทิศทางอ่อนค่า สำหรับ USD Futures เดือนมิ.ย.65 มีแนวรับที่ 34.50 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีแนวต้านที่ 35.20 บาท/ดอลลาร์
News
“มอร์แกน สแตนลีย์” ชี้สหรัฐมีโอกาส 50% ที่จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอย
นายเจมส์ กอร์แมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของมอร์แกน สแตนลีย์ออกโรงเตือนว่า มีโอกาส 50% ที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย แม้สถานการณ์ไม่น่าจะรุนแรงก็ตาม พร้อมเตือนว่านักลงทุนเสี่ยงเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก “ตอนนี้ เศรษฐกิจสหรัฐเสี่ยงถดถอย 50%” นายกอร์แมนกล่าวในที่ประชุมที่จัดโดยมอร์แกน สแตนลีย์ หลังจากเมื่อเดือนที่ผ่านมา เขาคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสถดถอยไม่ถึง 50%
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ดัชนี S&P500 เข้าสู่ภาวะตลาดหมี (Bear Market) ในวันจันทร์ หลังร่วงลงกว่า 20% จากระดับปิดสูงเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 3 ม.ค. เนื่องจากนักลงทุนวิตกว่าเศรษฐกิจอาจถดถอย อย่างไรก็ดี บรรดาผู้บริหารที่ขึ้นกล่าวในการประชุมอุตสาหกรรมการเงินของมอร์แกน สแตนลีย์เปิดเผยว่า ผู้บริโภคและบริษัทสหรัฐยังคงมีสถานะทางการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวจากภาวะหดตัวและป้องกันธนาคารจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจหดตัว
นักวิเคราะห์หลายสำนักซึ่งรวมถึงบาร์เคลย์ส และแคปิตอล อิโคโนมิกส์ต่างคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย.นี้ หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 8.6% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.3% สำหรับความเป็นไปได้ในการเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินเฟ้อของเฟดนั้น ทำให้เกิดความหวั่นวิตกว่าจะฉุดรั้งเศรษฐกิจ นักลงทุนจึงแห่เทขายสินทรัพย์เสี่ยงและเข้าซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ดอลลาร์สหรัฐ
“เจพีมอร์แกน-โกลด์แมนแซคส์” เชื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ยแรง 0.75% วันพุธนี้
นักเศรษฐศาสตร์ของเจพีมอร์แกน และโกลด์แมน แซคส์ ต่างก็คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันพุธนี้ (15 มิ.ย.) ตามเวลาสหรัฐ หลังจากผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของชาวอเมริกันปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ เฟดสาขานิวยอร์กเปิดเผยผลสำรวจคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคสหรัฐประจำเดือนพ.ค.พบว่า ภาคครัวเรือนสหรัฐคาดว่า เงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างจาก 1,300 ครัวเรือนพบว่า ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะสั้นสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้าปรับตัวขึ้น 0.3% สู่ระดับ 6.6% ส่วนตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะกลางสำหรับช่วง 3 ปีข้างหน้าทรงตัวที่ระดับ 3.9% หลังจากมีการเปิดเผยผลสำรวจดังกล่าว นายมิเชล เฟโรลี นักเศรษฐศาสตร์ของเจพีมอร์แกน รวมทั้งนักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมนแซคส์ ต่างก็คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75%
ในการประชุมวันพุธนี้ แม้ว่าก่อนหน้านี้เฟดได้ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือนนี้ก็ตาม นักวิเคราะห์จากบริษัทอื่น ๆ ต่างก็คาดการณ์เช่นกันว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย.นี้ หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 8.6% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 40 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 8.3%
นักวิเคราะห์จากแคปิตอล อิโคโนมิกส์กล่าวว่า “การพุ่งขึ้นของดัชนี CPI พื้นฐานจะทำให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในวันพุธนี้ และยืดเวลาของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ยาวไปจนถึงฤดูใบไม้ร่วง” ส่วนนักวิเคราะห์จากบริษัทบาร์เคลยส์, เจฟเฟอรีส์ และบีเอ็นวาย เมลลอน ต่างก็คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันพุธนี้เช่นกัน จากเดิมที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.50% ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 50% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% ในการประชุมวันที่ 14-15 มิ.ย. เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ให้น้ำหนักเพียง 5% ก่อนหน้านี้
มือขวานายกฯอิตาลีชี้ ECB ขึ้นดอกเบี้ยไม่ช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อ
นายฟรานเชสโก เจียวาซซี ที่ปรึกษาเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดที่สุดของนายมาริโอ ดรากี นายกรัฐมนตรีอิตาลีเปิดเผยว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการควบคุมเงินเฟ้อ ในการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ECB ส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในเดือนก.ค. และอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกในเดือนก.ย. เนื่องจากแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและขยายวงกว้างขึ้น ทำให้เกิดความเสี่ยงว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นอีก
การส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยของ ECB ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลีพุ่งขึ้นแตะ 4% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2557 ในวันจันทร์ (13 มิ.ย.) ขณะที่ต้นทุนการประกันความเสี่ยงต่อหนี้สาธารณะของอิตาลีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2563 และหุ้นกลุ่มธนาคารร่วงลงอย่างหนัก นายเจียวาซซีกล่าวว่า “ECB สัญญาจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรับมือเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นด้วยเครื่องมือที่ผิด เงินเฟ้อของยุโรปไม่ได้เกิดจากอุปสงค์ในประเทศแบบในสหรัฐ แต่เงินเฟ้อของเราเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น”
นอกจากนี้ นายเจียวาซซีกล่าวว่า เขาไม่ได้มีเจตนาจะวิจารณ์ ECB ซึ่งกำลังใช้เครื่องมือที่มีเพื่อพยายามควบคุมเงินเฟ้อ แต่เขาย้ำว่าการที่ ECB ทำเช่นนั้นเป็นการใช้เครื่องมือที่ผิดในสถานการณ์ปัจจุบันและจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งนี้ นายเจียวาซซีเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นอดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง โดยปัจจุบันรับหน้าที่เป็นที่ปรึกษากลยุทธ์ให้กับนายดรากีซึ่งเคยรับตำแหน่งประธาน ECB ในระหว่างปี 2554-2562 ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลีเมื่อปี 2564