ราคาทอง 11/10/67
โดย : บริษัท ออสสิริส จำกัด
ราคาทองคำโลกกลับตัวขึ้นหลังทำจุดต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์
ปิดที่ระดับ 2,629 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบรายปี อีกทั้งตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ปัจจัยทั้งหมดสะท้อนว่าเงินเฟ้อยังไม่ลดลง
ขณะที่ตลาดแรงงานเริ่มชะลอตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดจะเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ในเดือนหน้า อ้างอิง CME’s FedWatch นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือน พ.ย. ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำ
สำหรับวันนี้ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI เดือนกันยายน หากยังไม่ชะลอตัว สวนคาดกาณ์ของนักลงทุน คล้ายดัชนีราคาผู้บริโภค CPI ในคืนที่ผ่านมา ทองจะยังได้แรงหนุนเชิงบวกต่อ MyGOLD Plus Investment research Dept. คาดการณ์ว่าระยะยาวราคาทองคำจะยังคงทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2568 จากการที่กระแสเงินทุนจำนวนมากที่ไหลเข้าสู่กองทุน ETF ทองคำ รวมทั้งแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก
การลดดอกเบี้ยโดยเฟดมักส่งผลบวกต่อราคาทองคำ โดยมีเหตุผลหลักๆ ดังนี้:
ต้นทุนค่าเสียโอกาสที่ลดลง: เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ผลตอบแทนจากการถือครองสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดดอกเบี้ย เช่น เงินฝากหรือพันธบัตร จะลดลง ทำให้ทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นสำหรับนักลงทุน
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง: การลดดอกเบี้ยโดยเฟดมักทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนจะแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าในสกุลเงินอื่น ทองคำซึ่งซื้อขายเป็นดอลลาร์สหรัฐ จะมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือครองสกุลเงินอื่น ส่งผลให้ความต้องการทองคำเพิ่มขึ้นและราคาทองคำสูงขึ้น
ความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ: การลดดอกเบี้ยโดยเฟดมักเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวหรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะถดถอย ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน นักลงทุนมักจะหันไปลงทุนในทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสี่ยงและรักษามูลค่าของเงินลงทุน ตัวอย่างจากอดีต: ช่วงปี 1995 – 1999, 2001 – 2004, และ 2007 – 2015: ในช่วงเวลาเหล่านี้ เฟดได้ลดอัตราดอกเบี้ย และราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในระยะกลางถึงระยะยาวหลังจากการลดดอกเบี้ย
อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างการลดดอกเบี้ยของเฟดและราคาทองคำ ไม่ใช่กฎตายตัว และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อราคาทองคำด้วย เช่น อัตราเงินเฟ้อ สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ และความเชื่อมั่นของนักลงทุน ดังนั้น การตัดสินใจลงทุนในทองคำควรพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ ด้าน ไม่ใช่เพียงแค่การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของเฟดเพียงอย่างเดียว
สำหรับวันนี้ราคาทองโลกเปิดตลาดที่ระดับ 2,628 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับราคาทองคำแท่ง 96.5% ในประเทศ คาดการณ์ตอนเปิดตลาดขายออกบาทละ 41,500-41,550 บาท
สำหรับมุมมองทางเทคนิคราคาทองคำโลก
ภาพรวมใหญ่ยังอยู่ในเทรนด์ขาขึ้น สำหรับระยะกลางกราฟราย 4 ชั่วโมง ยังอยู่ในช่วงพักตัวเพื่อสะสมแรงขึ้นรอบใหม่ ล่าสุดสามารถปรับตัวขึ้นไปยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันหรือแถว 2,625 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อีกครั้ง
หลังจากที่สามารถกลับตัวเหนือแนวรับสำคัญแถว 2,607ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ ซึ่งถือเป็นจุดขายมาก(Oversold) เช่นกัน ทำให้ราคาโลกเกิดแรงซื้อกลับค่อนข้างแรง อย่างไรก็ตามขาขึ้นจะแข็งแกร่งมากขึ้นหากสามารถยืนเหนือ 2,635-2,650 ดอลลาร์ได้ สำหรับราคาทองในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลงจากอิทธิพลเงินบาทที่เริ่มปรับตัวแข็งค่ามากขึ้น
ราคาสูงสุดต่ำสุดของราคาทองโลกเมื่อวานนี้
สูงสุด 2,631 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ต่ำสุด 2,604 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธการลงทุนทองคำ (Buy)
ราคาทองโลก (Gold Spot):
แนวรับ 2,625/2,507 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวต้าน 2,650/2,660 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทองคำทองคำแท่งน้ำหนัก 1 บาท 96.5%:
แนวรับ 41,400/41,250บาท
แนวต้าน 41,650/41,750บาท
หมายเหตุ ราคาทองไทยเป็นราคาโดยประมาณซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามทิศทางค่าเงิน
ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญวันนี้
รายงานอัตราเงินเฟ้อ PPI ของสหรัฐฯ ในเดือนกันยายน คาดการณ์ชะลอตัว (คาดการณ์เป็นลบต่อทอง)
กองทุน SPDR (กองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
ถือครอง 876.26ตัน(คงที่)
อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯล่าสุด
ดอกเบี้ยสหรัฐล่าสุดอยู่ที่ระดับ 4.75-5.00%