ราคาทอง 6/10/66
โดย : YLG Bullion
เมื่อวานนี้ราคาทองคำปิดย่อตัวลงเล็กน้อย 1.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ภาพรวมมีแรงซื้อ-แรงขาย สู้กันอยู่ภายในกรอบ ส่งผลให้ราคาทองเริ่มสร้างฐานอยู่ในกรอบ 1,813-1,830 รับแรงหนุนพยุง หลังดัชนีดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ เริ่มมีการสลับกลับมาย่อตัวลงบ้าง
ขณะเดียวกันทองก็ยังมีแรงซื้อจำกัดเช่นกัน และถูกขายกลับมาปิดลบเล็กน้อย หลังสหรัฐฯ เผยจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน เพิ่มขึ้นเพียง 2,000 ราย สู่ระดับ 207,000 ราย ต่ำกว่าคาดที่ 211,000 ราย บ่งชี้คนว่างงานนั้นยังไม่ได้สูงมากนัก รวมไปถึงตัวเลขดุลการค้า ที่ขาดดุล 5.83 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.2020
ปัจจัยเหล่านี้ ทองจึงยังถูกสกัดย่อทำระดับต่ำสุดที่ 1,813 พร้อมรอจับตาตัวเลขตลาดแรงงานชุดสำคัญในคืนนี้
กราฟการเคลื่อนไหว Gold Spot

คำแนะนำ
มีแรงขายกดดันให้ราคาทองอ่อนตัวลงหลังจากราคาฟื้นตัวขึ้น แต่หากยังคงมีแรงขายทำกำไรสลับเข้ามาเพิ่มกดดันราคาไว้ แนะนำเสี่ยงเปิดสถานะขายทำกำไรระยะสั้น
เมื่อราคาปรับตัวขึ้นไม่สามารถยืนเหนือโซนแนวต้าน 1,834-1,843 ตัดขาดทุนหากราคาผ่านแนวต้านบริเวณ 1,861 ทยอยปิดสถานะขายทำกำไรหากราคาไม่หลุดแนวรับบริเวณ 1,809-1,804
ตารางสรุปแนวรับ-แนวต้าน
GOLD | |||
เเนวโน้ม | Sideway down | ||
กลยุทธ์ | Short | ||
GOLD SPOT | |||
แนวต้าน | 1,843 | 1,861 | 1,879 |
แนวรับ | 1,804 | 1,786 | 1,767 |
STOP LOSS | 1,861 | ||
GOLD 96.5% | เงินบาท | 36.93 | |
แนวต้าน | 32,250 | 32,550 | 32,900 |
แนวรับ | 31,550 | 31,250 | 30,900 |
STOP LOSS | 32,550 |
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
เวลา | ประเทศ | รายการ | Impact | Actual | Forecast | Previous |
ทั้งวัน | จีน | Bank Holiday – วันชาติจีน | – | – | – | – |
06:30 | ญี่ปุ่น | ดัชนีการใช้จ่ายภาคครัวเรือน เดือนส.ค. | (+) | -2.5%** | -4.0% | -5.0% |
06:30 | ญี่ปุ่น | ดัชนีรายได้เฉลี่ย เดือนส.ค. | (-) | 1.1%** | 1.5% | 1.3% |
13:00 | อังกฤษ | ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย m/m เดือนก.ย. | (+) | -0.8% | -1.9% | |
19:30 | สหรัฐฯ | การจ้างงานนอกภาคการเกษตร เดือนก.ย. | (+) | 171K | 187K | |
19:30 | สหรัฐฯ | รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง เดือนก.ย. | (-) | 0.3% | 0.2% | |
19:30 | สหรัฐฯ | อัตราว่างงาน เดือนก.ย. | (-) | 3.7% | 3.8% | |
23:00 | สหรัฐฯ | FOMC Member Waller Speaks | – | – | – | – |
02:00 | สหรัฐฯ | ยอดสินเชื่อผู้บริโภค เดือนส.ค. | (-) | 11.7B | 10.4B |