GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

วิเคราะห์ราคาทองคำ 31 มี.ค.64(ภาคเช้า) by YLG

438

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

หากราคาไม่สามารถยืนเหนือ 1,699 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เสี่ยงเปิดสถานะขาย โดยตัดขาดทุนหากผ่านแนวต้านในโซน 1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับการปิดสถานะขายเพื่อทำกำไรอาจพิจารณาดูบริเวณ 1,676-1,659 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถยืนได้ให้ชะลอการเข้าซื้อคืนออกไป

แนวรับ : 1,676 1,659 1,643 แนวต้าน : 1,699 1,717 1,734

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดดิ่งลงอีก 26.91  ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยราคาทองคำยังคงได้รับแรงกดดันเหมือนกับวันทำการก่อนหน้า  โดยปัจจัยหลักที่กดดันทองคำ  คือ  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีที่พุ่งต่อเนื่องสู่ระดับ 1.774% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนครั้งใหม่  จากความหวังที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้น  ท่ามกลางความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 และคาดการณ์ที่ว่าแผนการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 3 ล้านล้านที่ประธานาธิบดีโจ  ไบเดนเตรียมจะเปิดเผยในวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ  จะยิ่งกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เร็วขึ้น  และเพิ่มอุปทานการออกประมูลพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดทุนงบประมาณ  สถานการณ์ดังกล่าวกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย  พร้อมกับหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าค่าจนกดดันราคาทองคำเพิ่ม  ปัจจัยที่ระบุว่ากดดันให้ราคาทองคำร่วงลงหลุดแนวรับจิตวิทยาบริเวณ 1,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์จนกระตุ้นหะเกิดแรงขายตามทางเทคนิคเพิ่ม  นี่เป็นที่มาที่ทำให้ราคาทองคำปรับตัวลงต่อจนแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์บริเวณ 1,678.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP, ดัชนี PMI เขตชิคาโก และยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย  ที่สำคัญต้องจับตาการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีจัดการกับแผนวงเงิน 3 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีไบเดน  รวมถึงการตอบรับของตลาดโดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี และดัชนีดอลลาร์อย่างใกล้ชิด  เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ

จจัยทางเทคนิค :

ราคาขยับขึ้นแต่ก็มีแรงขายทำกำไรสลับออกมา ซึ่งหากราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือแนวต้าน 1,699-1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ จะมีผลให้ราคาปรับตัวลงมาเพื่อสร้างฐานราคา โดยมีแนวรับในโซน 1,676-1,659 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

แนะนำเสี่ยงขายเก็งกำไรระยะสั้นเมื่อราคาทองคำดีดตัวขึ้นไม่สามารถยืนเหนือโซน 1,699-1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์อย่างแข็งแกร่ง ตัดขาดทุนหากราคาผ่านโซนบริเวณ 1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และทำกำไรโดยเข้าซื้อคืนหากราคาทองคำไม่หลุดแนวรับบริเวณ 1,676-1,659 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากหลุดสามารถถือสถานะขายต่อ

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 104.41 จุด นลท.ขายหุ้นเทคโนฯหลังบอนด์ยีลด์พุ่ง  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือน ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งจะเปิดเผยแผนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในวันนี้ พร้อมกับจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,066.96 จุด ลดลง 104.41 จุด หรือ -0.31% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,958.55 จุด ลดลง 12.54 จุด หรือ -0.32% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,045.40 จุด ลดลง 14.25 จุด หรือ -0.11%
  • (+) สหรัฐโวย WHO ออกรายงานโควิดล่าช้า,ปิดกั้นเข้าถึงข้อมูล  สหรัฐพร้อมกับอีก 13 ชาติแสดงความกังวลต่อการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) มีความล่าช้าในการเปิดเผยรายงานเกี่ยวกับต้นตอของไวรัสโควิด-19 รวมทั้งมีการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลที่สมบูรณ์  “เราขอแสดงความกังวลต่อความล่าช้าในการเปิดเผยรายงานดังกล่าว และมีการปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลและตัวอย่างที่สมบูรณ์” แถลงการณ์ระบุ  ทั้งนี้ ประเทศที่แสดงความกังวลดังกล่าว ได้แก่ สหรัฐ แคนาดา สหราชอาณาจักร สโลวีเนีย นอร์เวย์ ลิธัวเนีย ลัตเวีย เอสโทเนีย เดนมาร์ก สาธารณรัฐเชก ออสเตรเลีย อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
  • (-) ดอลลาร์แข็งค่า หลังบอนด์ยีลด์พุ่งสูงสุดในรอบ 14 เดือน  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 มี.ค.) โดยได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือน ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น 0.39% แตะที่ 93.3004 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 110.34 เยน จากระดับ 109.80 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9421 ฟรังก์ จากระดับ 0.9392 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2633 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2596 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1716 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1763 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3723 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3760 ดอลลาร์
  • (-) บอนด์ยีลด์สหรัฐพุ่งทะลุ 1.77% ทำนิวไฮ 14 เดือนวันนี้  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งทะลุ 1.77% แตะระดับสูงสุดในรอบ 14 เดือนในวันนี้  ณ เวลา 17.52 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 1.765% หลังจากแตะระดับ 1.772% ในช่วงแรก ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 2.445%  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรดีดตัวขึ้นในวันนี้ โดยได้แรงหนุนจากความหวังที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้น รวมทั้งคาดการณ์การดีดตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ท่ามกลางความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนโควิด-19 และการที่รัฐบาลเตรียมประกาศแผนใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  • (-) ลีราร่วง หลัง “เออร์โดกัน” สั่งปลดรองผู้ว่าฯแบงก์ชาติตุรกี  ประธานาธิบดีเรเซป ตอยยิบ เออร์โดกัน ผู้นำตุรกี ประกาศปลดนายมูรัต เซตินคายา รองผู้ว่าการธนาคารกลางตุรกี ออกจากตำแหน่งในวันนี้ พร้อมกับแต่งตั้งนายมุสตาฟา ดูมาน ให้ดำรงตำแหน่งแทนนายเซตินคายา  ทั้งนี้ ค่าเงินลีราของตุรกีอ่อนค่าแตะ 8.44 เมื่อเทียบดอลลาร์ หลังจากแตะ 8.25 ในช่วงแรก
  • (-) “เยลเลน” เชื่อผู้ประกอบการลาตินสามารถช่วยสหรัฐหลุดพ้นวิกฤต  นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวว่า ตนเชื่อว่าผู้ประกอบการซึ่งมีเชื้อสายลาตินอเมริกาสามารถมีบทบาทในการช่วยเหลือให้สหรัฐหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ได้ หากมีการลดอุปสรรคในการเข้าถึงทุนและการจ้างงาน  “ประวัติศาสตร์บอกเราว่า ธุรกิจของชาวลาตินอเมริกาจะช่วยผลักดันการฟื้นตัวครั้งใหญ่” นางเยลเลนกล่าว
  • (-) IMF เตรียมปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564-65 ในสัปดาห์หน้า  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แถลงในวันนี้ว่า IMF เตรียมทบทวนปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกสำหรับปี 2564 และ 2565 โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่สหรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่เศรษฐกิจของหลายประเทศฟื้นตัวขึ้น หลังได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในวงกว้าง  ทั้งนี้ IMF มีกำหนดเปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) ฉบับใหม่ในสัปดาห์หน้า
  • (-) Conference Board เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐสูงกว่าคาดในมี.ค.  ผลสำรวจของ Conference Board ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 109.7 ในเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดของโควิด-19 ในเดือนมี.ค.2563 จากระดับ 90.4 ในเดือนก.พ. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 96.9

- Advertisement -

Comments
Loading...