ราคาทอง 8/01/67
โดย : YLG Bullion
ราคาทองคำผันผวนในกรอบเกือบ 40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ในวันศุกร์ที่ผ่านมา
แต่ปิดบวกเพียง 2.54 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคานั้นมีความผันผวน หลังจากสหรัฐรายงานตัวเลขตลาดแรงงาน เนื่องจากในภาพรวมตลาดแรงงานออกมาแข็งแกร่ง
ทั้งการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่สูงกว่าคาดสู่ระดับ 216,000 ตำแหน่ง ค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่ม 0.4% สูงกว่าคาด และอัตราว่างงานที่ 3.7% ต่ำกว่าคาด ภาพดังกล่าวจึงส่งผลให้ในช่วงแรกดัชนีดอลลาร์มีการดีดตัวขึ้นก่อน กดทองร่วงลงทำระดับต่ำสุดที่ 2,024
แต่หลังจากนั้น ราคาทองคำมีแรงซื้อกลับจนปิดบวกเล็กน้อย เพราะหากดูตัวเลขการจ้างงานที่สูงกว่าคาดนั้น ส่วนใหญ่มาจาก Non-Cyclical sector หรือกลุ่มที่ไม่ได้มีผลต่อเศรษฐกิจโดยตรง เช่น Healthcare แต่ส่วนที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโดยตรง Cyclical sector เช่น ภาคการผลิต การเงิน การบริการ กลับไม่ได้ขยายตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อ ISM เผย PMI ภาคบริการอ่อนแอลงเช่นกันที่ 50.6 ต่ำกว่าคาด 52.5 ทองคำจึงยังมีแรงซื้อสลับเข้ามา
กราฟการเคลื่อนไหว Gold Spot ต้าน

แม้ว่าวันก่อนหน้าราคาทองคำจะสร้างระดับสูงสุดใหม่จากวันก่อนหน้า และแรงซื้อเพิ่มขึ้น แต่หากราคายังไม่สามารถผ่านกรอบแนวต้านในทิศทาง Sideway ได้อาจทำให้ราคามีโอกาสอ่อนตัวลงช่วงสั้น
แนะนำรอเปิดสถานะขายหากราคาปรับตัวขึ้นทดสอบโซน 2,063-2,079 ทั้งนี้อาจพิจารณาแบ่งปิดสถานะขายทำกำไรออกบางส่วน หากราคาทองคำไม่หลุดแนวรับโซนที่ 2,024-2,007 แต่หากหลุดสามารถถือสถานะขายต่อ พร้อมลดการลงทุนหากราคาผ่าน 2,079
ตารางสรุปแนวรับ-แนวต้าน
GOLD | |||
เเนวโน้ม | Sideway | ||
กลยุทธ์ | Short | ||
GOLD SPOT | |||
แนวต้าน | 2,063 | 2,079 | 2,097 |
แนวรับ | 2,024 | 2,007 | 1,989 |
STOP LOSS | 2,079 | ||
GOLD 96.5% | เงินบาท | 34.73 | |
แนวต้าน | 33,950 | 34,200 | 34,500 |
แนวรับ | 33,300 | 33,050 | 32,750 |
STOP LOSS | 34,200 |
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
เวลา | ประเทศ | รายการ | Impact | Forecast | Previous |
14:00 | เยอรมนี | ยอดคำสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงาน m/m เดือนพ.ย. | (+) | 1.1% | -3.7% |
14:00 | เยอรมนี | ดุลการค้า เดือนพ.ย. | (+) | 17.9B | 17.8B |
16:30 | ยุโรป | ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน เดือนม.ค. | (+) | -15.5 | -16.8 |
17:00 | ยุโรป | ยอดค้าปลีก m/m เดือนพ.ย. | (-) | -0.3% | 0.1% |
00:00 | สหรัฐ | FOMC Member Bostic Speaks | – | – | – |
03:00 | สหรัฐ | ยอดสินเชื่อผู้บริโภค m/m เดือนพ.ย. | (-) | 8.9B | 5.1B |