ราคาทอง 16/10/66
โดย : บริษัท เล่งหงษ์ คอมโมดิตีส์ จำกัด
แนวต้าน : 1950-1960 , 1980-2000
แนวรับ : 1885-1870 , 1850-1835
ทิศทางราคา Gold Spot สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในตะวันออกกลาง โดยขยับขึ้นมากว่า 100$ และปิดแท่งเทียนแบบเต็มแท่งในคืนวันศุกร์ อีกทั้งยังทะลุผ่านแนวต้านเทรนไลน์สำคัญขึ้นมาได้ด้วย สัปดาห์นี้ยังคงลุ้นขึ้นต่อ และลุ้นราคาทองคำในประเทศทำจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาล
โซนแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1885-1870 และ 1850-1835 ตามลำดับ ภาพรวมหากใครเข้าซื้อไม่ทันในสัปดาห์ที่ผ่านมา และไม่กล้าที่จะซื้อ Follow อาจจะต้องรอราคาย่อปรับฐานก่อนตามโซนดังกล่าว และหาจังหวะเข้าซื้ออีกครั้ง
โซนแนวต้านสำคัญอยู่ที่ระดับ 1950-1960 และ 1985-2000 ตามลำดับโดยมีความเป็นไปได้ที่ราคาจะทะยานขึ้นต่อให้ระมัดระวังการเล่นฝั่งขายหากไม่มีของอยู่ในมือ
ภาพรวมทิศทางราคาทอง
ราคาทองคำ Gold Spot สัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแรงกว่า 5.5% จากสถานการณ์ความไม่แน่นอน
กองทุน SPDR สัปดาห์นี้ภาพรวมยังคงลดปริมาณถือครองลง
สรุปข่าว
- ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต รมว.คลัง-ผู้ว่ผู้ ว่าธปท. ออกโรงเตือนรัฐบาลใส่เกียร์ถอย Digital Wallet 1 หมื่นบาท ชี้เทงบประมาณแผ่นดิน 5.6 แสนล้านกระตุ้นเศรษฐกิจ “ได้ไม่คุ้มเสีย” แนะรับฟังเสียงต้านที่หวังดีต่อชาติหวั่นกระทบหนักเสถียรภาพการเงิน-การคลังประเทศ
- IMF เผยแพร่รายงาน “แนวโน้มเศรษฐกิจโลก” ฉบับใหม่ล่าสุดในงาน ซึ่งรายงานนี้กล่าวถึง เศรษฐกิจโลกว่า “ยังคงฟื้นตัวอย่างช้า ๆ” เปรียบเหมือน “คนเดินกะโผลกกะเผลกไม่สามารถวิ่งได้” โดย IMF ยังคงคาดการณ์การเติบโตของจีดีพีโลกปีนี้ไว้ที่ 3% ชะลอลงจากอัตราการเติบโต 3.5% ในปี 2022 แต่ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2024 เหลือโต2.9% จากคาดการณ์เมื่อเดือนกรกฎาคมว่าจะโต 3% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตระหว่างปี 2000-2019 ที่โตเฉลี่ยปีละ 3.8%
- IMF เตือนว่าวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนอาจกัดกร่อนการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิกซึ่งกำลังอ่อนแรง และเมื่อบวกกับผลกระทบจากการกระจายความเสี่ยงและย้ายฐานผลิตกลับประเทศของสหรัฐและพันธมิตร อาจทำให้ผลผลิต (output) ของเอเชียแปซิฟิกซึ่งมีความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับเศรษฐกิจจีนลดลงมากถึง 10% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า
- กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ จากการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงานปรับตัวขึ้น 3.7% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปีสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.6% จาก ระดับ 3.7% ในเดือนส.ค.
- นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ กล่าวว่า การทำสงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสไม่มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก
- สงคราม ‘อิสราเอล-ฮามาส’ ความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ตั้งของผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่หลายประเทศ อาจทำให้ราคาน้ำมันพุ่งต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงพุ่งขึ้นอีกระลอก อาจกดดันให้ธนาคารกลางหลายแห่งต้องขึ้นดอกเบี้ยสูงสูขึ้น และนานขึ้น (Higher for Longer) อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ครั้งนี้อาจทำให้ Bond Yield ลดลงได้ เนื่องจากนักลงทุนอาจจะวิ่งกลับไปหาสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) อย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา