บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 10 ก.ย.64 by YLG
โดย : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)
คำแนะนำ :
ซื้อขายทำกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดยบริเวณแนวต้านโซน 1,800-1,802 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือโซนดังกล่าวได้นำแบ่งทองคำออกขายเพื่อรอซื้อคืนในโซนแนวรับ 1,775-1,757 ดอลลาร์ต่อออนซ์
แนวรับ : 1,775 1,757 1,740 แนวต้าน : 1,802 1,816 1,833
ปัจจัยพื้นฐาน :
ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.50 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคำได้รับแรงหนุนหลักมาจากผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) ที่แม้ว่า ECB จะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยและ“คง” วงเงินของโครงการซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการPandemic Emergency Purchase Programme (PEPP)ในการประชุมรอบนี้ อย่างไรก็ดี ปัจจัยทำให้สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้นมาจากการที่ ECB ระบุว่าจะ “ปรับลดวงเงิน” ในการซื้อพันธบัตรตามโครงการ PEPP ในไตรมาสจะมาถึงนี้ลง “อย่างค่อยเป็นค่อยไป” เมื่อเทียบกับในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา พร้อมกันนี้ ECB ได้ “ปรับเพิ่ม” ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการขยายตัว 5% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 4.6% พร้อมปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อสู่ระดับ 2.2% ในปีนี้ ซึ่งการแข็งค่าของสกุลเงินยูโรเป็นปัจจัยกดดันสกุลเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าลงจนหนุนให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นทดสอบระดับสูงสุดบริเวณ 1,800.74 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในระหว่างวัน แม้ว่าการเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานของสหรัฐที่ลดลงเกินคาดสู่ระดับ 310,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และแตะระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในสหรัฐเมื่อเดือนมี.ค.2020จะฉุดให้ราคาทองคำร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุดบริเวณ 1,784.01 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่โดยรวมแล้วดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหวในแดนลบ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดที่ 1.287% ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ก.ย. หลังดีมานด์ในการประมูลพันธบัตรอายุ 30 ปีเป็นไปอย่างแข็งแกร่งจึงเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยพยุงให้ราคาทองฟื้นตัวขึ้นปิดตลาดในแดนบวก ด้านกองทุน SPDR ถือทองคำลดลง -0.35 ตัน สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)ของสหรัฐ
ปัจจัยทางเทคนิค :
หลังจากราคาทองคำพยายามกลับขึ้นไปทดสอบโซน 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ไม่สามารถยืนเหนือบริเวณดังกล่าวได้ แสดงถึงแรงซื้อในระดับจำกัด ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับ 1,782-1,775 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ถ้าไม่สามารถยืนได้ จะเกิดแรงขายออกมาเพิ่ม โดยแนวรับถัดไปจะอยู่ที่ 1,757 ดอลลาร์ต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุน :
ขายทำกำไรระยะสั้นเมื่อราคาดีดตัวขึ้นไม่ผ่านบริเวณแนวต้าน 1,800-1,802 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากราคาผ่านได้ให้ไปรอขายที่แนวต้านโซน 1,816 ดอลลาร์ต่อออนซ์(สถานะขายตัดขาดทุนหากราคาผ่าน1,816ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้)ดูบริเวณ 1,782-1,775 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่หลุดสามารถเข้าซื้อคืนเพื่อทำกำไร
ข่าวสารประกอบการลงทุน :
- (+) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ WHO ชี้อินเดียมีความพร้อมมากขึ้นในการรับมือโควิดดร.ซูมยา สวามินาทาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่า อินเดียมีความพร้อมที่ดีขึ้นในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ไม่ให้ส่งผลกระทบหนักในประเทศ อินเดียได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอก 2 ในระหว่างเดือนก.พ. จนถึงต้นเดือนพ.ค. ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อรายวันและอัตราผู้เสียชีวิตส่งผลให้ระบบการดูแลสุขภาพของอินเดียเปราะบาง นับตั้งแต่นั้นมา ยอดผู้ติดเชื้อปรับตัวลดลง ปัจจุบัน อินเดียมียอดผู้ติดเชื้อรายวันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30,000-40,000 รายต่อวัน ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน
- (+) ECB ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจยูโรโซน คาดขยายตัว 5% ปีนี้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศปรับเพิ่มตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจยูโรโซนในปีนี้ โดยคาดว่าจะมีการขยายตัว 5% จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 4.6% นอกจากนี้ ECB ยังได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อสู่ระดับ 2.2% ในปีนี้ ก่อนที่จะชะลอตัวลงสู่ระดับ 1.7% ในปี 2565 และ 1.4% ในปี 2566 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย 2% ของ ECB นางคริสติน ลาการ์ด ประธาน ECB กล่าวว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงขึ้นอยู่กับความสำเร็จของโครงการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ในยุโรป รวมทั้งอัตราการติดเชื้อทั่วโลก
- (+) ยูโรแข็งค่า ขานรับ ECB ส่งสัญญาณปรับลด QEยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 ก.ย.) หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) โดยโครงการ PEPP ของ ECB นั้น เทียบเท่ากับโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.18% แตะที่ 92.4828 เมื่อคืนนี้ ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1829 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1824 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3837 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3779 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7371 ดอลลาร์ จากระดับ 0.7374 ดอลลาร์ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.69 เยน จากระดับ 110.22 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9168 ฟรังก์ จากระดับ 0.9213 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2649 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2673 ดอลลาร์แคนาดา
- (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 151.69 จุด วิตกเฟดหั่น QE เร็วกว่าคาดดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนนี้ (9 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เร็วกว่าที่คาดไว้ หลังสหรัฐรายงานตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 18 เดือน ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,879.38 จุด ลดลง 151.69 จุด หรือ -0.43% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,493.28 จุด ลดลง 20.79 จุด หรือ -0.46% ดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,248.25 จุด ลดลง 38.38 จุด หรือ -0.25%
- (-) สหรัฐเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดโควิด กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับ310,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐเมื่อเดือนมี.ค.2563 จากระดับ 345,000 รายในสัปดาห์ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานดังกล่าวต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 335,000 ราย
- (+/-) ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังไม่ประกาศหั่น QEธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมวันนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ ที่ประชุม ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรืออัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ระดับ 0% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับ -0.50% ขณะที่คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับ 0.25% อย่างไรก็ดี ECB ไม่ได้ประกาศปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ในการประชุมวันนี้ โดยโครงการดังกล่าวเทียบเท่ากับโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขณะเดียวกัน ECB ส่งสัญญาณการปรับลดวงเงินในโครงการ PEPP ในแถลงการณ์หลังการ