ราคาทอง 31/7/66
โดย : YLG Bullion
เมื่อวันศุกร์ทองฟื้นปิดบวกได้ 13.58 ดอลลาร์ต่อออนซ์
หนุนจากดัชนีดอลลาร์และบอนด์ยีลที่ย่อตัวลง ตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลง โดยดัชนี Core PCE มาตรเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ ปรับตัวลงในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบรายปีจาก 4.6% สู่ 4.1% และรายเดือนจาก 0.3% สู่ 0.2%
ทิศทางเงินเฟ้อที่ชะลอตัว จึงหนุนกระแสการยุติการขึ้นดอกเบี้ยเฟด อีกทั้ง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จากม.มิชิแกน อยู่ที่ 71.6 ต่ำกว่าคาดการณ์ ปัจจัยเหล่านี้ จึงหนุนทองให้กลับมาฟื้นตัวได้ ขึ้นทำ High 1,963.42 หลังจากที่ราคาทองทิ้งตัวลงแรงในช่วงก่อนหน้า รับ GDP สหรัฐ ในไตรมาส 2 ที่ออกมาแข็งแกร่ง
กราฟการเคลื่อนไหว Gold Spot

คำแนะนำ
แม้ว่าราคาทองคำวันก่อนหน้าปรับตัวขึ้น แต่ไม่สามารถสร้างระดับสูงสุดใหม่จากวันก่อนหน้าได้ ส่งผลให้แนวโน้มราคาจะยังคงเป็น Sideway หากราคายิ่งตัวขึ้นเข้าใกล้กรอบด้านบนแรงซื้อเริ่มลดลงอาจมีแรงขายสลับเข้ามาเพิ่มขึ้น
แนะนำเสี่ยงเปิดสถานะขายทำกำไรระยะสั้น หากราคาทองสามารถไม่ยืนเหนือแนวต้านโซน 1,970-1,988 สถานะขายตัดขาดทุนหากราคาผ่าน 1,988 เน้นทำกำไรจากการแกว่งตัว โดยปิดสถานะขายทำกำไรหากราคาปรับตัวลงไม่หลุดแนวรับโซน 1,945-1,930
ตารางสรุปแนวรับ-แนวต้าน
GOLD | |||
เเนวโน้ม | Sideway | ||
กลยุทธ์ | Short | ||
GOLD SPOT | |||
แนวต้าน | 1,970 | 1,988 | 2,009 |
แนวรับ | 1,930 | 1,911 | 1,893 |
STOP LOSS | 1,988 | ||
GOLD 96.5% | เงินบาท | 34.22 | |
แนวต้าน | 31,950 | 32,250 | 32,600 |
แนวรับ | 31,300 | 31,000 | 30,700 |
STOP LOSS | 32,250 |
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
เวลา | ประเทศ | รายการ | Impact | Forecast | Previous |
08:30 | จีน | ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคการผลิต เดือนก.ค. | (+) | 49.3* | 49.0 |
08:30 | จีน | ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) ภาคบริการ เดือนก.ค. | (-) | 51.5* | 53.2 |
13:00 | เยอรมนี | ยอดค้าปลีก m/m เดือนมิ.ย. | (-) | -0.3% | 0.4% |
16:00 | ยุโรป | ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) y/y เดือนก.ค. | (-) | 5.3% | 5.5% |
16:00 | ยุโรป | ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนก.ค. | (-) | 5.4% | 5.5% |
16:00 | ยุโรป | GDP q/q ไตรมาส 2/2023 | (+) | 0.2% | -0.1% |
16:00 | ยุโรป | GDP y/y ไตรมาส 2/2023 | (-) | 0.5% | 1.0% |
20.45 | สหรัฐฯ | ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ (PMI) รัฐชิคาโก เดือนก.ค. | (-) | 43.3 | 41.5 |