GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 7 ม.ค.65 by YLG

372

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ

ขายทำกำไรระยะสั้นตามกรอบราคา ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่ผ่านแนวต้าน1,800-1,807 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้อาจจะเห็นการอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับบริเวณ 1,779-1,776 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,776 1,764 1,751  แนวต้าน : 1,807 1,821 1,834

จจัยพื้นฐาน

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปรับตัวลดลงต่ออีก  19.00 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยยังคงได้รับแรงกดดันอย่างต่อเนื่องหลังจากรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)บ่งชี้ว่า  เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้  พร้อมส่งสัญญาณว่าจะเริ่มปรับลดขนาดงบดุลหลังจากที่ได้เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว  ตอกย้ำแนวโน้มดังกล่าวด้วยถ้อยแถลงในเชิง Hawkish ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดอาทิ  นายเจมส์ บูลลลาร์ด ประธานเฟดเซนต์หลุยส์ ที่กล่าววานนี้ว่า เฟดอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยทันทีในเดือนมีนาคม และขณะนี้อยู่ในสถานะ “ดี” ที่จะดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ  ส่วนนางแมรีดาลีประธานเฟดซานฟรานซิสโกซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการสายพิราบกล่าวเช่นกันว่าตลาดแรงงาน “แข็งแกร่งมาก” และอัตราเงินเฟ้อที่สูงได้สร้างผลกระทบโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ทำให้เฟดควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้  แม้เตือนว่าเฟดควรจะขับเคลื่อนนโยบายด้วยข้อมูลและการ”วัดผล”ก็ตาม  ปัจจัยที่กล่าวมาหนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น  พร้อมกับหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ10ปีให้พุ่งขึ้นเหนือระดับ1.75% จนเป็นปัจจัยกดดันทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเพิ่ม  นั่นทำให้ราคาทองคำร่วงลงหลุด 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์  และปรับตัวลงต่อจนแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์บริเวณ 1,786.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์  ถึงแม้ว่าการเปิดเผยตัวเลขเศรษบกิจสหรัฐวานนี้  อาทิ  ยอดขาดดุลการค้า, ดัชนี PMI ภาคการบริการจาก ISM และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์จะออกมาแย่เกินคาดก็ตาม  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคำลดลง -1.17 ตัน  สำหรับวันนี้จับตาการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร, อัตราการว่างงานและรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงแรงงานของสหรัฐ

จจัยทางเทคนิค :

หากราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือโซน 1,800-1,807 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ อาจทำให้เกิดการอ่อนตัวลงของราคาทดสอบแนวรับโซน 1,779-1,776 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากไม่สามารถยืนเหนือโซนแนวรับแรกได้ก็จะเห็นการอ่อนตัวลง โดยมีโอกาสที่จะราคาทดสอบแนวรับถัดไปบริเวณ 1,764 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นการเก็งกำไรระยะสั้น แนะนำรอดูบริเวณ 1,800-1,807 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่ผ่านสามารถเปิดสถานะขายทำกำไรระยะสั้น (ตัดขาดทุนสถานะขายหากราคาผ่าน 1,821 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้) ทยอยซื้อคืนเพื่อปิดสถานะขายเพื่อทำกำไรเมื่อราคาอ่อนตัวลงบริเวณแนวรับ1,779-1,776 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 170.64 จุด กังวลเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบในวันพฤหัสบดี (6 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยความกังวลดังกล่าวได้ฉุดหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีร่วงลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องพึ่งพาผลกำไรจากอัตราดอกเบี้ย ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นหลังจากราคาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้นทะลุระดับ 80 ดอลลาร์  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 36,236.47 จุด ลดลง 170.64 จุด หรือ -0.47%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,696.05 จุด ลดลง 4.53 จุด หรือ -0.10% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 15,080.86 จุด ลดลง 19.31 จุด หรือ -0.13%
  • 299,000,000 ราย พุ่งวันเดียวกว่า 3,000,000 รายWorldometerซึ่งเป็นเว็บไซต์รายงานข้อมูลล่าสุดที่มีการรวบรวมจากหน่วยงานด้านสาธารณสุขทั่วโลก ระบุว่า ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สะสมทั่วโลกมีจำนวน 299,041,032 ราย เพิ่มขึ้นกว่า 3 ล้านรายจากที่มีการรายงานวานนี้ ส่วนผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ระดับ 5,485,356 ราย
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยในวันนี้ว่า ตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐพุ่งขึ้น 19.4% สู่ระดับ 8.02 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนพ.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.71 หมื่นล้านดอลลาร์ จากระดับ 6.72 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนต.ค.  ก่อนหน้านี้ สหรัฐขาดดุลการค้ามากเป็นประวัติการณ์ในเดือนก.ย. โดยอยู่ที่ระดับ 8.14 หมื่นล้านดอลลาร์
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 7,000 ราย สู่ระดับ 207,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 195,000 ราย  อย่างไรก็ดี ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกต่ำกว่าระดับ 215,000 ราย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ
  • WHO ชี้ความเหลื่อมล้ำด้านวัคซีนกระทบเศรษฐกิจโลกนายแพทย์ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำในการกระจายวัคซีนไปทั่วโลกเป็นสาเหตุทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ เช่น โอมิครอน ซึ่งได้บั่นทอนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก”ความเหลื่อมล้ำของวัคซีนเป็นตัวการฆ่าคนและฆ่างาน รวมทั้งบ่อนทำลายการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก” นายแพทย์ทีโดรสกล่าวนายแพทย์ทีโดรสกล่าวว่า การที่ผู้นำของโลกไม่สามารถร่วมมือกันในการเพิ่มการแจกจ่ายวัคซีนให้แก่ชาติที่ยากจนและมีระบบสาธารณสุขที่ล้าหลัง ถือเป็นหนึ่งในความล้มเหลวที่ใหญ่ที่สุดในปี 2564ทั้งนี้ WHO ตั้งเป้าให้มีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชากร 40% ของแต่ละประเทศทั่วโลกภายในสิ้นปี 2564 แต่ 92 ประเทศก็ไม่สามารถบรรลุเป้าดังกล่าว แม้มีการกระจายวัคซีนมากถึง 9 พันล้านโดสไปทั่วโลกนอกจากนี้ WHO ยังได้ตั้งเป้าให้มีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชากร 70% ของแต่ละประเทศทั่วโลกภายในกลางปีนี้
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินยูโรและปอนด์ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (6 ม.ค.) หลังจากรายงานการประชุมเดือนธ.ค.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนธ.ค.ของสหรัฐซึ่งมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้  ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.16% แตะที่ 96.3169 เมื่อคืนนี้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9223 ฟรังก์ จากระดับ 0.9173 ฟรังก์ แต่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 115.93 เยน จากระดับ 116.13 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2728 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2755 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1287 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1312 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3525 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3560 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7165 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7223 ดอลลาร์สหรัฐ
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐพุ่งขึ้น 1.6% ในเดือนพ.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 1.5% หลังจากดีดตัวขึ้น 1.2% ในเดือนต.ค.  เมื่อเทียบรายปี ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานทะยานขึ้น 12.9% ในเดือนพ.ย.

- Advertisement -

Comments
Loading...