GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ 1 มิ.ย.64(ภาคเช้า) by YLG

2,033

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เน้นทำกำไรระยะสั้น โดยการเข้าซื้อมีแนวรับบริเวณ 1,901-1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์) และหากราคาขยับขึ้นควรแบ่งขายทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านโซน 1,927-1,943 ดอลลาร์ต่อออนซ์

แนวรับ : 1,901 1,886 1,872  แนวต้าน : 1,927 1,943 1,959

จจัยพื้นฐาน :

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น  3.19  ดอลลาร์ต่อออนซ์ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง  เนื่องจากตลาดทองคำอังกฤษปิดทำการวานนี้ในวันสิ้นสุดฤดูใบไม้ผลิ (Spring bank holiday)  ขณะที่ตลาดทองคำ  ตลาดเงินและตลาดทุนของสหรัฐปิดทำการเช่นกันเนื่องในวันทหารผ่านศึก (Memorial Day)  อย่างไรก็ดี  ราคาทองคำเคลื่อนไหวในกรอบแคบเหนือ1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ตลอดทั้งวัน  พร้อมกับปิดตลาดในเดือนพ.ค.ด้วยการพุ่งขึ้น +7.75% โดยเป็นการปิดบวก 2 เดือนติดต่อกัน  และปรับตัวขึ้นในรายเดือนมากสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2020 ทั้งนี้  ทองคำได้รับแรงหนุนจากสกุลเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงเป็นเดือนที่ 2 สอดคล้องกับข้อมูลของ CFTC ที่พบว่ามูลค่าของสถานะขายสุทธิในดอลลาร์ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 พ.ค.เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 2.789 หมื่นล้านดอลลาร์จากระดับ 1.507 หมื่นล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ก่อนหน้า แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนก.พ.สะท้อนการคาดการณ์เชิงลบต่อดอลลาร์ที่เพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้า  ประกอบกับเงินเฟ้อในสหรัฐพุ่งขึ้นแรง  จนช่วยกระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้ออีกด้วย  ด้านกองทุน SPDR วานนี้ถือครองทองคำไม่เปลี่ยนแปลง  แต่ในเดือนพ.ค.เกิดกระแสเงินทุนไหลเข้าสุทธิถึง26.17ตันซึ่งเป็นการถือครองทองคำทำเพิ่มเป็นเดือนแรกนับตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว  สะท้อนเงินทุนที่ไหลกลับเข้าสู่ตลาด ETF ทองคำอีกครั้งและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่หนุนทองคำในเดือนพ.ค.เช่นกัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตจากISM และข้อมูลค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างรวมถึงถ้อยแถลงของนาย Randal Quarles รองประธานเฟด และนาง Lael Brainard หนึ่งในคณะผู้ว่าการเฟด

- Advertisement -

จจัยทางเทคนิค :

ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่สามารถยืนเหนือ 1,927 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ มีโอกาสที่ราคาจะอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับ แต่หากยืนเหนือบริเวณ 1,901 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้ มีโอกาสที่ราคาจะขยับขึ้นทดสอบแนวต้านโซน 1,927 -1,943 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นทำกำไรระยะสั้นโดยเปิดสถานะซื้อ โดยอาจใช้บริเวณ 1,901-1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุด 1,886 ดอลลาร์ต่อออนซ์) ชะลอการเข้าซื้อ ขณะที่หากราคาดีดตัวขึ้นแนะนำทยอยแบ่งปิดสถานะทำกำไรตั้งแต่ราคา 1,927-1,943 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) เงินเฟ้อเยอรมันเพิ่มสูงเกินคาดในเดือนพ.ค. สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่สำคัญ ปรับตัวขึ้น 2.5% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 2.4%  หากเทียบเป็นรายเดือน ราคาผู้บริโภคเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 0.5% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 0.3%
  • (+) จีนห้ามปชช.ในกว่างโจวออกนอกเมืองหากไม่มีผลตรวจโควิด หวั่นสายพันธุ์อินเดียลาม จีนสั่งห้ามประชาชนในเมืองกว่างโจวเดินทางออกนอกเมืองหากไม่มีผลตรวจยืนยันว่าไม่ติดเชื้อโควิด-19 โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อินเดียในกว่างโจว  สื่อจีนรายงานว่า รัฐบาลท้องถิ่นได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อไวรัสให้ประชาชนมากกว่า 2 ล้านคนในภูมิภาคต่างๆ ที่มีความเสี่ยงสูง และผลตรวจยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิดมากกว่า 20 รายในระหว่างวันที่ 21-30 พ.ค. และส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อินเดียขณะที่ในเมืองเซินเจิ้น ซึ่งอยู่ใกล้กับกว่างโจว มีการยืนยันพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์อังกฤษมากกว่า 10 ราย จากการเปิดเผยของหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น วานนี้
  • (-) OECD ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปีนี้ หลังการฉีดวัคซีนได้ผลดีในหลายประเทศ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้ โดยระบุว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกเริ่มปรับตัวดีขึ้น หลังจากหลายประเทศเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ซึ่งช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง นอกจากนี้ OECD ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากรัฐบาลได้อัดฉีดเงินหลายล้านล้านดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ  OECD คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัว 5.8% ในปีนี้ และ 4.4% ในปี 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนมี.ค.ที่ระดับ 5.6% และ 4% ตามลำดับรายงานคาดการณ์ล่าสุดของ OECD ยังระบุด้วยว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัว 6.9% ในปีนี้ เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ระดับ 6.5% โดยได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ ส่วนในปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 3.6% ลดลงจากระดับคาดการณ์เดือนมี.ค.ที่ 4.0%
  • (-) นักวิทย์ชี้อังกฤษเริ่มเข้าสู่การระบาดระลอก 3 แนะเลื่อนปลดล็อกดาวน์ ศาสตราจารย์ รวิ กุปตา นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลอังกฤษ เผยมีสัญญาณบ่งชี้ว่าสหราชอาณาจักรเข้าสู่ระยะแรกของการแพร่ระบาดระลอกที่สาม ระบุแม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ยังค่อนข้างต่ำ แต่พบว่าในจำนวนผู้ติดเชื้อเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อินเดีย  ศ.กุปตากล่าวกับรายการ Today ของสถานีบีบีซี เรดิโอ 4 ว่า สหราชอาณาจักรเข้าสู่การระบาดระลอกที่สามแล้ว และอย่างน้อยสามในสี่ของผู้ติดเชื้อเป็นสายพันธุ์อินเดีย
  • (-) จีนประกาศเพิ่มสัดส่วนการกันสำรอง FX ของสถาบันการเงิน มีผล 15 มิ.ย.นี้ ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศปรับเพิ่มสัดส่วนการกันสำรอง (RRR) สกุลเงินต่างประเทศของสถาบันการเงินขึ้นสู่ระดับ 7% จากระดับ 5% โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.นี้เป็นต้นไป  ธนาคารกลางจีนออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ว่า การปรับเพิ่มสัดส่วน RRR สกุลเงินต่างประเทศในครั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะเสริมสร้างการบริหารสภาพคล่องสกุลเงินต่างประเทศของสถาบันการเงินให้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น  อย่างไรก็ดี เทรดเดอร์ในตลาดการเงินเชื่อว่า การดำเนินการล่าสุดของธนาคารกลางจีนมีเป้าหมายที่จะสกัดไม่ให้สกุลเงินหยวนแข็งค่ารวดเร็วเกินไป

(+/-) EU เตรียมออกพันธบัตรหนุนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโควิด วงเงิน 1 หมื่นล้านยูโร นายเคลเมน บัวเน รัฐมนตรีฝ่ายกิจการยุโรปของฝรั่งเศสเปิดเผยว่า สหภาพยุโรป (EU) วางแผนที่จะออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 ในวงเงิน 7.50 แสนล้านยูโร (9.17 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยในเบื้องต้นจะมีการระดมเงินทุนดังกล่าวด้วยการออกพันธบัตรมูลค่า 1 หมื่นล้านยูโร  นายบัวเนกล่าวให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Les Echos ของฝรั่งเศสว่า EU จะอัดฉีดเม็ดเงินกว่า 1 แสนล้านยูโรเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจยุโรปตั้งแต่ปีนี้ พร้อมระบุว่า คณะกรรมาธิการยุโรปจะเปิดตัวโครงการออกพันธบัตรในวันนี้ (1 มิ.ย.) โดยจะมอบหมายให้ธนาคารพาณิชย์ในยุโรปและธนาคารระหว่างประเทศ รวมทั้งบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ดำเนินการออกพันธบัตรในเดือนมิ.ย. โดยจะให้อัตราดอกเบี้ยในระดับที่น่าพึงพอใจ

- Advertisement -

Comments
Loading...