โดย : YLG Bullion
ปัจจัยพื้นฐานราคาทองคำเมื่อวันศุกร์ที่ทองคำมีความผันผวนปิดย่อตัวลง 21.61 ดอลลาร์ต่อออนซ์
โดยถูกกดันจากที่สหรัฐเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดยดัชนีรวมนั้นดีดตัวสูงสุดในรอบ 11 เดือน ซึ่งขยายตัวทั้งภาคผลิตที่สูงสุดในรอบ 6 เดือน และโดยเฉพาะภาคบริการ ขยายตัวสูงสุดในรอบ 1 ปี ตัวเลขดังกล่าวพลิกจากตลาดที่คาดการณ์ว่าจะชะลอตัวทั้ง 2 ตัว ปัจจัยดังกล่าวจึงไปหนุนให้ดัชนีดอลลาร์ และบอนด์ยีลฟื้นตัวขึ้น กระตุ้นคาดการณ์เฟดขึ้นดอกเบี้ย และกลับมากดดันทองย่อตัวลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 1,971.65 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตาม การที่บอนด์ยีลดีดตัวขึ้น ทำให้เกิดภาวะ Inverted yield curve ที่ชัดมากขึ้น แสดงถึงสัญญาณภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งล่าสุดเกิดขึ้นในบอนด์ยีลอายุ 6 และ 12 เดือน
ตารางสรุปแนวรับ-แนวต้าน
GOLD | |||
เเนวโน้ม | Sideway | ||
กลยุทธ์ | Long | ||
GOLD SPOT | |||
แนวต้าน | 2,012 | 2,030 | 2,048 |
แนวรับ | 1,969 | 1,949 | 1,930 |
STOP LOSS | 1,949 | ||
GOLD 96.5% | เงินบาท | 34.50 | |
แนวต้าน | 32,900 | 33,200 | 33,500 |
แนวรับ | 32,200 | 31,850 | 31,550 |
STOP LOSS | 31,850 |
คำแนะนำการลงทุนทองคำ
หลังจากราคาทิ้งตัวลงแรงในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาอาจฟื้นตัวขึ้นช่วงสั้น แนะนำเสี่ยงเปิดสถานะซื้อทำกำไรระยะสั้น เมื่อราคาปรับลงเข้าใกล้กรอบด้านล่างบริเวณแนวรับหากราคาสามารถยืนเหนือแนวรับ 1,972-1,969 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สถานะซื้อตัดขาดทุนหากราคาหลุดแนวรับ 1,949 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปิดสถานะซื้อทำกำไรหากราคาปรับตัวขึ้นไม่ผ่านแนวต้านโซน 2,000-2,012 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
เวลา | ประเทศ | รายการ | Impact | Forecast | Previous |
ไม่ระบุ | เยอรมนี | Buba Monthly Report | – | – | – |
15:00 | เยอรมนี | ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ เดือนเม.ย. | (+) | 93.4 | 93.3 |
20.30 | ยุโรป | ECB Panetta Speaks | – | – | – |