GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

วิเคราะห์ราคาทองคำ 9 ก.พ.64(ภาคเช้า) by YLG

452

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เน้นเก็งกำไรการแกว่งตัว โดยเข้าซื้อที่แนวรับบริเวณ 1,827-1,821 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และหากราคาขยับขึ้นควรแบ่งขายทำกำไรบางส่วนหากราคาทองคำไม่ผ่านโซน 1,844-1,851 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ถ้าผ่านได้สามารถถือต่อ

แนวรับ : 1,821 1,805 1,784  แนวต้าน : 1,851 1,875 1,890

จจัยพื้นฐาน :

- Advertisement -

ราคาทองคำวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก  17.32 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ว่า  การเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่มูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์  ผ่านแนวทางการจัดทำงบประมาณที่เรียกว่า budget reconciliation ของประธานาธิบดีโจ ไบเดนจะปูทางให้มาตรการดังกล่าวผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรสได้อย่างรวดเร็วและไร้อุปสรรค  เนื่องจากไม่จำเป็นต้องอาศัยเสียงสนับสนุนจากพรรครีพับลิกัน  ซึ่งเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังรอบใหม่มีแนวโน้มจะผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้ปรับตัวสูงขึ้น  จึงเป็นปัจจัยกระตุ้นแรงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ  ประกอบกับสกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง  ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.155% ลดช่วงบวกจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ที่ 1.20% ซึ่งขึ้นไปทดสอบในช่วงต้นวัน  จนเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำเพิ่มเติม   อย่างไรก็ดี  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปียังคงแกว่งตัวไม่ไกลจากระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือน  ขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  จึงอาจเป็นปัจจัยสกัดช่วงบวกของราคาทองคำเอาไว้  ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -4.08 ตันสู่ระดับ 1,152.43 ตัน ทำให้ในปี 2021 กองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -18.31 ตัน  สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจขนาดเล็กจาก NFIB และจํานวนตําแหน่งงานว่างเปิดใหม่ (JOLTS Job Openings) รวมถึงการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ต่างๆขานรับความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ของสหรัฐ

จจัยทางเทคนิค :

ระหว่างวันหากราคาทองคำไม่หลุด 1,827-1,821 ดอลลาร์ต่อออนซ์ จะมีโอกาสเกิดแรงดีดกลับและราคาอาจพยายามจะดีดตัวขึ้นไปทดสอบแนวต้านระดับ 1,844-1,851 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่หากไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้อาจจะเกิดแรงขายสลับออกมาเพิ่ม

กลยุทธ์การลงทุน :

เน้นทำกำไรระยะสั้นโดยเปิดสถานะซื้อบริเวณ  1,827-1,821 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากหลุด 1,805 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ให้ชะลอการเข้าซื้อออกไป ขณะที่หากราคาดีดตัวขึ้นแนะนำทยอยแบ่งปิดสถานะทำกำไรตั้งแต่ราคา 1,844-1,851 ดอลลาร์ต่อออนซ์เพื่อรอเข้าซื้อใหม่เมื่อราคาอ่อนตัว

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) ดอลล์อ่อนเทียบสกุลเงินหลัก ผิดหวังตัวเลขจ้างงานสหรัฐ  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (8 ก.พ.) โดยดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากทางการสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือนม.ค.  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.12% สู่ระดับ 90.9365 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 105.22 เยน จากระดับ 105.43 เยน และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8986 ฟรังก์ จากระดับ 0.8995 ฟรังก์ นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2741 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.2769 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2055 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2042 ดอลลาร์ ขณะที่เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นแตะที่ระดับ 1.3742 ดอลลาร์ จากระดับ 1.3728 ดอลลาร์ ส่วนดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.7703 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7668 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (+) ปธ.เฟดคลีฟแลนด์ยันเฟดจะใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อไปอีกนาน  นางลอเรตตา เมสเตอร์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ กล่าวว่า เฟดจะใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อไปเป็นเวลานานมาก เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐยังคงอยู่ห่างไกลจากเป้าหมายของเฟดในการมีการจ้างงานเต็มศักยภาพ และการมีเสถียรภาพด้านราคา  นอกจากนี้ นางเมสเตอร์ยังระบุว่า มาตรการด้านการคลังของรัฐบาลในการเร่งกระจายวัคซีนโควิด-19 และให้ความช่วยเหลือต่อแรงงานที่ต้องตกงานจะช่วยสร้างเสถียรภาพต่อเศรษฐกิจ
  • (+) ทำเนียบขาวกังวลจีนยังคงนิ่งเฉยต่อการก่อรัฐประหารในเมียนมา  นางเจน ซากี โฆษกทำเนียบขาว กล่าวว่า สหรัฐมีความกังวลต่อการที่จีนยังคงไม่ได้แสดงจุดยืนต่อการก่อรัฐประหารในเมียนมา  “เรามีความกังวลเกี่ยวกับการที่จีนยังคงไม่ได้แสดงท่าทีต่อการทำรัฐประหารในเมียนมา” นางซากีกล่าว
  • (-) ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 237.52 จุด ขานรับมาตรการกระตุ้นศก.คืบหน้า  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นทำนิวไฮเมื่อคืนนี้ (8 ก.พ.) ขานรับความคืบหน้าในการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ ซึ่งช่วยให้นักลงทุนมีความหวังว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 31,385.76 จุด เพิ่มขึ้น 237.52 จุด หรือ + 0.76% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 3,915.59 จุด เพิ่มขึ้น 28.76 จุด หรือ +0.74% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,987.64 จุด เพิ่มขึ้น 131.35 จุด หรือ +0.95%
  • (+/-) คาดคองเกรสไฟเขียวมาตรการกระตุ้นศก.ก่อน 15 มี.ค. หลังสภาฯหนุนอนุมัติแบบ fast track  พรรคเดโมแครตประสบความสำเร็จในการผลักดันให้สภาคองเกรสให้ความเห็นชอบต่อแนวทางการพิจารณาอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดนแบบ fast track โดยใช้แนวทางการจัดทำงบประมาณที่เรียกว่า budget reconciliation ซึ่งจะปูทางให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสามารถให้การรับรองงบประมาณดังกล่าวด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง แทนที่จะใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 สำหรับการผ่านกฎหมายทั่วไป  ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐให้การอนุมัติต่อแนวทางการจัดทำงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ budget reconciliation ด้วยคะแนนเสียง 219-209 ขณะที่วุฒิสภาให้การรับรองด้วยคะแนนเสียง 51-50 โดยนางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐ ลงคะแนนเสียงชี้ขาด 1 เสียงในฐานะประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง หลังจากที่สมาชิกพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันลงคะแนนเสียงเท่ากัน 50-50  การที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐให้การอนุมัติแนวทางการจัดทำงบประมาณดังกล่าว จะช่วยปูทางให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของปธน.ไบเดนสามารถผ่านสภาคองเกรสโดยไม่จำเป็นต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากพรรครีพับลิกัน  ทางด้านนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ กล่าวหลังจากที่สภาคองเกรสให้การอนุมัติแนวทาง budget reconciliation เมื่อวันศุกร์ว่า คาดว่ารัฐสภาสหรัฐจะสามารถลงมติให้การอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเยียวยาชาวสหรัฐและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อนวันที่ 15 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่มาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะหมดอายุลง

- Advertisement -

Comments
Loading...