GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

วิเคราะห์ราคาทองคำ 3 พ.ค.64(ภาคเช้า) by YLG

478

- Advertisement -

โดย  : บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG)

คำแนะนำ :

เก็งกำไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว เมื่อราคาทดสอบแนวต้าน 1,783-1,797ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากไม่สามารถผ่านได้ให้แบ่งขายทำกำไร อย่างไรก็ตาม ประเมินแนวรับที่ 1,756-1,741 ดอลลาร์ต่อออนซ์

- Advertisement -

แนวรับ : 1,756 1,741 1,728  แนวต้าน : 1,783 1,797 1,816

สรุป

ราคาทองคำวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดปรับตัวลดลง 3.04 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากวันพุธและพฤหัสบดีราคาทองคำมีการแกว่งตัวผันผวน  แต่ในวันศุกร์ราคาทองคำแกว่งตัวในกรอบแคบบริเวณ 1,773.66-1,764.13 ดอลลาร์ต่อออนซ์  โดยรวมแล้วการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำถูกสกัดช่วงบวกจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ท่ามกลางการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาดีเกินคาด  อาทิ ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายปี, การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้น 4.2% ในเดือนมี.ค. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.1% และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐจากม,มิชิแกน พุ่งขึ้นแตะระดับ 88.3 ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในสหรัฐในเดือนมี.ค.2020  นอกจากนี้ดอลลาร์ยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากการอ่อนค่าของสกุลเงินยูโร  เนื่องจากตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 1/2021 ของเยอรมนีหดตัว 1.7% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะหดตัว1.5% สถานการณ์ดังกล่าวหนุนให้ดัชนีดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น 0.69% แตะที่ 91.262 ในวันศุกร์จนเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาทองคำ  อย่างไรก็ดี  จะเห็นได้ว่าราคาทองคำยังคงพยุงตัวรักษาระดับเหนือระดับต่ำสุดของวันก่อนหน้า  โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงสู่ระดับ  1.622% เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรเพื่อปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนในช่วงสิ้นเดือนซึ่งช่วงหนุนทองคำไว้  ด้านกองทุน SPDR ถือทองไม่เปลี่ยนแปลง สำหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนี PMI ภาคการผลิตจาก ISM และมาร์กิต  รวมถึงถ้อยแถลงของนายเจอโรม  พาวเวลล์  ประธานเฟดในการประชุมออนไลน์ที่จัดโดย National Community Reinvestment Coalition

ข่าวสารประกอบการลงทุน :

  • (+) เกาหลีเหนือเตือนสหรัฐเตรียมรับผลที่ตามมาหลังระบุเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคาม  สำนักข่าวกลางเกาหลี (KCNA) ของรัฐบาลเกาหลีเหนือรายงานว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือได้เตือนสหรัฐว่า อาจเผชิญวิกฤติที่เลวร้ายกว่าเดิมหลังประธานาธิบดีโจ ไบเดน ระบุว่าโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรง  ควอน จอง กัน ผู้อำนวยการใหญ่ของกระทรวงกิจการต่างประเทศสหรัฐประจำเกาหลีเหนือ กล่าวในแถลงการณ์ที่เผยแพร่โดย KCNA ว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในการแถลงต่อสภาคองเกรสสหรัฐครั้งแรก ปธน.ไบเดนพลั้งปากพูดเรื่องเกาหลีเหนือ โดยกล่าวหาว่าเกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อความมั่นคงของสหรัฐและประชาคมโลก  นายควอนกล่าวว่า “แถลงการณ์ดังกล่าวนั้นชัดเจนว่าปธน.ไบเดนตั้งใจจะคงนโยบายที่ไม่เป็นมิตรต่อเกาหลีเหนือต่อไปอีกเหมือนที่เคยทำมากว่า 50 ปีแล้ว”  นายควอนเตือนว่า “สหรัฐจะเผชิญกับวิกฤติที่เลวร้ายเกินจะควบคุมในอนาคต หากทำอะไรกระทบความสัมพันธ์สหรัฐ-เกาหลีเหนือ โดยยังคงยึดนโยบายที่ล้าสมัยจากมุมมองสมัยสงครามเย็น”  นายควอนระบุว่า “ในตอนนี้ชัดเจนแล้วว่าประเด็นสำคัญในนโยบายเกาหลีเหนือใหม่ของสหรัฐเป็นอย่างไร เราถูกบังคับให้ใช้มาตรการที่เกี่ยวข้อง และไม่นานสหรัฐจะพบว่าตัวเองอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายมาก”
  • (+) ดาวโจนส์ปิดลบ 185.51 จุด แรงขายหุ้นเทคโนฯถ่วงตลาด  ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (30 เม.ย.) โดยถูกกดดันจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี อาทิ หุ้นแอมะซอน, แอปเปิล และอัลฟาเบท แม้บริษัทเหล่านี้เปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งก็ตาม ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินคาดของสหรัฐนั้นไม่ได้ช่วยหนุนตลาดแต่อย่างใด  ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 33,874.85 จุด ลดลง 185.51 จุด หรือ -0.54%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,181.17 จุด ลดลง 30.30 จุด หรือ -0.72% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,962.68 จุด ลดลง 119.86 จุด หรือ -0.85%
  • (-) อนามัยโลกไฟเขียวใช้วัคซีนโควิดของโมเดอร์นาในกรณีฉุกเฉินเป็นตัวที่ 5  องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยในวันศุกร์ (30 เม.ย.) ว่า WHO ได้เพิ่มวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของบริษัทโมเดอร์นาเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้ว โดยนับเป็นวัคซีนตัวที่ 5 ที่ WHO อนุมัติให้ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉิน  ในเดือนธ.ค. 2563 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติใช้วัคซีนของโมเดอร์นาเป็นกรณีฉุกเฉิน ขณะที่องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ได้อนุมัติให้จำหน่ายวัคซีนของโมเดอร์นาได้ทั่วสหภาพยุโรป (EU) ในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา
  • (-) ยูโรโซนเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อนใน Q1 หลังหดตัว 2 ไตรมาสติดกัน  ยูโรสแตทซึ่งเป็นสำนักงานสถิติของสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยในวันศุกร์ (30 เม.ย.) ว่า เศรษฐกิจของยูโรโซนหดตัวลง 0.6% ในไตรมาสแรกของปีนี้ หลังจากหดตัวลง 0.7% ในไตรมาส 4/2563  เศรษฐกิจที่หดตัวลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน ทำให้ยูโรโซนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก EU 19 ประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค แม้เศรษฐกิจดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งถึง 12.5% ในไตรมาส 3/2563 ก็ตาม
  • (-) ดอลล์แข็งค่าตามทิศทางบอนด์ยีลด์-ข้อมูลเศรษฐกิจแกร่ง  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (30 เม.ย.) โดยดอลลาร์ปรับตัวตามทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ และยังได้แรงหนุนจากการที่สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาดด้วย  ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน เพิ่มขึ้น 0.74% แตะที่ 91.2820 เมื่อคืนนี้  ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 109.30 เยน จากระดับ 108.88 เยน และแข็งค่าเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.9134 ฟรังก์ จากระดับ 0.9087 ฟรังก์ ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐทรงตัวเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.2281 ดอลลาร์แคนาดา  ยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2022 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2126 ดอลลาร์, เงินปอนด์อ่อนค่าลงแตะที่ระดับ 1.3807 ดอลลาร์ จากระดับ  1.3950 ดอลลาร์ และดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงสู่ระดับ 0.7704 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7776 ดอลลาร์สหรัฐ
  • (-) สหรัฐเผยดัชนี PCE เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมี.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนมี.ค.    เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE ดีดตัวขึ้น 2.3% ในเดือนมี.ค. หลังจากปรับตัวขึ้น 1.5% ในเดือนก.พ.   ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค.   เมื่อเทียบรายปี ดัชนี PCE พื้นฐาน ปรับตัวขึ้น 1.8% ในเดือนมี.ค.
  • (-) สหรัฐเผยการใช้จ่ายผู้บริโภคพุ่งเกินคาดในเดือนมี.ค.  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายส่วนบุคคลของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้น 4.2% ในเดือนมี.ค. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.1% หลังจากลดลง 1.0% ในเดือนก.พ.  นอกจากนี้ รายได้ส่วนบุคคลพุ่งขึ้น 21.2% ในเดือนมี.ค. สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 20.3% หลังจากลดลง 7.0% ในเดือนก.พ. 

- Advertisement -

Comments
Loading...