GOLD.in.th
ราคาทองวันนี้ ข่าวสาร วิเคราะห์ ทองคำ
เพิ่มเพื่อน

เพิ่มเพื่อนบัญชีทางการของเราเพื่อรับข่าวสารล่าสุด

นักลงทุนเตรียมรับมือ เมื่อเฟดลั่นเงินเฟ้อจะแรงกว่าคาด

3,087

- Advertisement -

ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้เฟดได้บอกมาตลอดว่า เงินเฟ้อไม่น่ากังวล เพราะเงินเฟ้อจะมาแค่ชั่วคราวเท่านั้น แต่ล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 28 กันยายน 2021 เฟดกลับออกมาพูดว่า “เงินเฟ้อน่ากังวลกว่าที่คาดไว้” ซึ่งแน่นอนว่า ตลาดหุ้น NASDAQ โดนทุบลงมาทันที รวมถึงสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ ก็โดนทุบเช่นกัน มันเกิดอะไรขึ้น แล้วนักลงทุนควรรับมือการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร เดี๋ยววันนี้อินเตอร์โกลจะมาเล่าให้ฟัง

โดยทั่วไปแล้ว ตามตำราคือเมื่อใดก็ตามที่ธนาคารกลางต้องการควบคุมเงินเฟ้อ ธนาคารกลางจะใช้วิธีขึ้นดอกเบี้ย เพื่อลดความต้องการใช้เงินของระบบ ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุ้มเงินเฟ้อได้นั่นเอง

จากการที่เฟดออกมาพูดว่า เงินเฟ้อมันน่ากังวลกว่าที่คาด ก็ทำให้ตลาดกลัวการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่ากำหนดในปีหน้า จากปัจจุบันดอกเบี้ยต่ำมากอยู่ที่ 0.25% แต่คาดว่าปีหน้าอาจขึ้นไปถึง 0.75% ต่อปี ทำให้ต้นทุนทางการเงินแพงขึ้นถึง 3 เท่า ทำให้แผนการลงทุนมันก็เปลี่ยนไปด้วย เพราะอาจไม่คุ้มที่จะลงทุนแล้ว ด้วยเหตุนี้ตลาดจึงลดความเสี่ยงโดยการขายสินทรัยพ์เสี่ยงออกจากพอร์ตการลงทุนออกไปก่อน นี่คือหลักคิดตามตำราทางเศรษฐศาสตร์ทั่วไป 

แน่นอนว่า เมื่อตลาดกลัวว่าต้นทุนทางการเงินจะสูงขึ้น ดังนั้น ตลาดจะหนีออกจากหุ้นที่มี PE สูง ๆ ก่อน เช่น กลุ่มเทคโนโลยีในตลาด NASDAQ ก็จะโดนเทขายออกไปเพราะมูลค่าของหุ้นจะถูกคำนวนออกมาได้น้อยลง เมื่อเงินเฟ้อสูงขึ้น และเมื่อ NASDAQ โดนเทขายก็จะทำให้ตลาดคริปโตโดนเทขายตามไปด้วย เพราะเป็นกลุ่มเทคโนโลยีเหมือนกัน 

- Advertisement -

สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ ในระยะถัดไปยังไม่มีใครรู้ว่า หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นจริง ๆ เศรษฐกิจจะรับต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นไหวหรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่า หากเศรษฐกิจรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ไม่ไหว เฟดก็กลับมาลดดอกเบี้ยอีกครั้ง และปล่อยเงินเฟ้อพุ่งขึ้นไป เพราะในอดีตเราก็เคยเห็นกันแล้วในปี ค.ศ. 1940 เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลกู้เงินเพื่ออัดฉีดปริมาณมาก และเงินเฟ้อก็พุ่งขึ้นถึงระดับ 15% เมื่อเทียบ YOY แต่เฟดกลับไม่ขึ้นดอกเบี้ยด้วยเหตุว่า รัฐบาลต้องการเงินไปกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ และ เฟดเลือกที่จะไม่สู้เงินเฟ้อ

ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนควรทำ ก็คือ ลงความเสี่ยงลง ขายสินทรัพย์ที่ราคาแพง และทะยอยเก็บทรัพย์สินที่เป็น Defensive asset และได้เปรียบในสภาวะเงินเฟ้อมากขึ้น เช่น ที่ดิน ทองคำ หรือ เงินสด ตัวอย่างพอร์ต หุ้น PE ต่ำหรือธุรกิจผูกขาด (60%), ตราสารหนี้(15%), ทองคำแท่ง (15%) และ เงินสด (10%)

จากตัวอย่างพอร์ตนี้ คือ เราพร้อมรับมือหากตลาดตกใจลงมาแรง ๆ เมื่อมีการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เราจะมีสภาพคล่องในการเข้าซื้อของดีราคาถูกมากขึ้น แต่หากตลาดไม่ตกใจลง เราก็ยังได้ผลตอบแทนจากเงินเฟ้อที่คาดว่าจะพุ่งขึ้นในอนาคตอยู่ดี โดยทองคำแท่งจะได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่าอีกด้วย

ทีมงาน อินเตอร์โกลด์

- Advertisement -

Comments
Loading...